Highlight:
- “การว่างงาน” (Unemployment) หมายถึง การที่คนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในจังหวะเวลาที่กำลังไม่มีงานทำ ยังไม่สามารถเจองานที่เหมาะสมกับตัวเองได้ หรืออาจจะกำลังรอ HR โทรมาตอบรับให้เข้าที่ทำงานก็ได้เช่นกัน
การว่างงานไม่เพียงส่งผลกระทบต่อบุคคลเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงภูมิภาค และสังคมโดยรวมอีกด้วย
จากข้อมูลสรุปใหม่ที่จัดทำโดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 การว่างงานของชายและหญิงในประเทศไทยนั้นได้แตะระดับที่ไม่มีใครคาดถึงในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป็นไปได้ว่าในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด หลายอาชีพที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ต้องการของตลาด กลับต้องค่อยๆหายไป บางบริษัทก็เลือกที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆแทนที่จะจ้างมนุษย์เงินเดือน เนื่องด้วยลงทุนคุ้มกว่า หรือประหยัดมากกกว่า ซึ่งนี่ก็ถือเป็นเหตุผลหลักๆ ที่การหางานเป็นอะไรที่ท้าทายมากขึ้น
แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ การที่จำนวนคนว่างงานเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน ไม่ได้หมายแปลว่าต้นตอมันมาจากการที่เทคโนโลยีกำลังจะมาแทนที่มนุษย์อะไรเทือกนั้นอย่างเดียว เพราะจริงๆแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น
ผลกระทบโดยตรงจากบทบาทของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
อย่างที่บอกไปว่าเทคโนโลยีก็ถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่ง ปัจจุบันนี้คือเวลาที่คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ A.I. ได้เข้ามาแทนที่คนมากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วง 5-10 ปี ที่ผ่านมา ทำให้คนที่กำลังหางานส่วนใหญ่ไม่อยากเสียเวลาหางานสูญเปล่า ดังนั้นหลายๆคน จึงต้องหาทางฝึกอัปสกิลเพิ่มเติมก่อนจึงจะสามารถหางานใหม่ในสาขาที่ตนสนใจได้
เด็กจบใหม่กับอุปสรรคที่เรียนจบจากคณะที่ล้นตลาดการจ้างงาน
เป็นเด็กจบใหม่ในยุคโควิดหางานนั้นว่ายากแล้ว ดันจบมาในคณะที่ตลาดแรงงานต้องการน้อยยิ่งทวีคูณความยากเข้าไปอีก! เศรษฐศาสตร์ , รัฐศาสตร์ , สังคมศาสตร์ , นิเทศศาสตร์ , สถิติ และสายบริหารจัดการ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงตกงานสูง ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทที่ค่าจ้างคุ้มเงินส่วนใหญ่ ก็มุ่งมั่นที่จะเลือกเด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ หรือเด็กจบนอกมากกว่า
การว่างงานไม่ได้เกิดจากการลดลงของตลาดการจ้างงาน เพราะในปัจจุบันพนักงานในหลายๆแห่งเริ่มที่จะลาออกโดยสมัครใจมากกว่าเดิม แล้วสาเหตุอะไรกันที่ส่งผลให้คนกล้าที่จะลาออกกันมากขึ้น?
จริงอยู่ที่คนว่างงานก็เยอะ และกำลังมองหางานก็แยะ แต่ในทางกลับกัน การลาออกก็ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร และก็เกิดขึ้นแทบจะตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ The Great Resignation ในปี 2021 ที่ผ่านมา โดยการลาออกครั้งใหญ่นี้ กล่าวถึงจำนวนผู้ที่ลาออกจากงานเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นของการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 เพราะหลังจากที่ได้ทำงานจากที่บ้านเป็นเวลานานโดยไม่มีการเดินทาง ทำให้หลายคนได้มองเห็นว่าบาลานซ์ระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life-Balance) มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตพวกเขามากแค่ไหน
ด้วยสาเหตุนี้แหละ หลายคนจึงตัดสินใจออกจากงานที่ทำอยู่ก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะคนในกลุ่ม Gen Z ที่ตัดสินใจลาออกกันเอง จากการสำรวจ 35,000 คน Randstad พบว่า กว่า 56% ของพนักงานอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปี บอกว่า พวกเขาต้องการลาออกจากงานดีกว่าต้องมาทำงานให้กับบริษัทที่ไม่สามารถหา Work-life-balance ได้ Gen Z (อายุ 18 ถึง 24 ปี) และ Millennials (อายุ 25 ถึง 34 ปี) จัดอันดับไลฟ์สไตล์และความสุขของตนเองมาก่อน ในขณะที่อีกส่วนตอบว่า จะไม่เลือกองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก (Diversity and Inclusion)
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ The Great Resignation นี้ดูเหมือนยังจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ หนึ่งในห้าของพนักงานทั่วโลกวางแผนที่จะลาออกในปี 2022 เพราะนอกจาก Work-life-balance แล้วนั้น อีกหนึ่งปัจจยสำคัญที่ส่งผลให้คนลาออกก็คือ การทำงานที่ไม่คุ้มเงิน
โดยผลสำรวจของ PwC ใน 44 ประเทศ เมื่อต้นปี 2022 ได้พบว่า มากกว่า 52,000 คน หรือ 71% เห็นตรงกันว่าค่าจ้างเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการลาออกจากงานโดยตรง เพราะเงินเดือนที่ได้นั้นบางทีก็ไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เราลงแรงลงใจไป
เห็นแล้วหรือยังล่ะ ว่าไม่ใช่เพียงแค่เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการว่างงานนั้นยังทวีคูณเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เราแล้วล่ะที่ต้องปรับตัว แต่ทางด้านองค์กรเองก็เช่นกันที่ควรจะหันมาให้ความสำคัญต่อพนักงานของตนเองให้มากขึ้นเพื่อลดจำนวนตัวเลขของจำนวนคนที่จะออกจากงานให้เหลือน้อยลง
อ้างอิง:
Amadeo, K. (2022). Types of unemployment. The Balance. https://www.thebalancemoney.com/types-of-unemployment-3305522
Kim, Y. (2022, April 8). Gen Z and Millennials Prefer To Be Unemployed Than Be Unhappy at Work. Hypebae. https://hypebae.com/2022/4/gen-z-millennials-rather-quit-jobs-unemployed-than-unhappy-study-data-trends
The Great Resignation is not over: Here’s what employees say matters most at the workplace. (2022, December 8). World Economic Forum. https://www.weforum.org/agenda/2022/06/the-great-resignation-is-not-over/
Youth unemployment in Thailand hits new highs due to COVID-19. (2021, November 23). https://www.ilo.org/asia/media-centre/news/WCMS_829227/lang–en/index.htm