มาสร้าง Agile Mindset เพื่อการทำงานแบบทีมของเรากันเถอะ!

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • Agile เป็นวิธีการคิดการวางแผนให้มุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่จะสามารถส่งผลให้มีประสิทธิภาพต่อเป้าหมายที่วางไว้ในเวลาอันรวดเร็ว โดย Agile จะเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมให้ดี
  • Agile ไม่ได้เป็นกระบวนการที่ใช้ในอุตสากรรมเทคโนโลยีอย่างเดียวอีกต่อไป ปัจจุบันนี้ในหลายองค์กรก็นำไอเดียนี้มาใช้

ต้นแบบและที่มาของ Agile ที่ใช้กันอย่าแพร่หลายในทุกวันนี้มาจากไหน?

แม้ว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาเพื่อทางด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิดแบบ Agile ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในทุกทิศทาง แทบจะถูกแขนงเลยก็ว่าได้ จนตอนนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทไหนก็ต้องมีติดไว้ 

Agile เป็นวิธีการคิดการวางแผน เพื่อมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ที่ส่งผลให้มีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วต่อเป้าหมายที่วางไว้ และจะมีประสิทธิภาพอย่างมากต่อการทำงานแบบทีม ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าทำไมในตอนนี้ Agile ถึงได้เป็นที่นิยมในองกรค์หลายแขนงมาก

ทุกวันนี้ Agile เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนหลายๆอุตสาหกรรมให้เติบโตขึ้นจากแนวคิดนี้ เนื่องจากมันสร้างงานใหม่ และช่วยให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นตอนนี้ Agile ได้ก้าวกระโดดไปไกลจากแต่ก่อนมากแล้ว

ระบบ Agile ทำให้เราเห็นความสำคัญของการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้หลายคนในองค์กรได้มีอิทธิพลต่อกระบวนการ ซึ่งทำให้ Agile เป็นแนวคิดที่สามารถช่วยยกระดับองค์กรไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิมนั่นเอง


Robert McNamara ผู้อำนวยการด้านกลยุทธ์ของ Guidehouse ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า ตอนนี้ในหลายบริษัทได้ให้ความสำคัญกับ Agile มากขึ้นก็จริง แต่ในทางกลับกัน พวกเขาแค่เข้าใจคอนเซ็ปต์เท่านั้น แต่กลับไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง ดังนั้นการสร้าง Mindset ที่ถูกต้องภายในบริษัทจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นหากคุณต้องการปลูกฝังศักยภาพของ Agile ให้เกิดผลมากที่สุด

Agile Mindset ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง?

  • รู้จักเคารพเพื่อนร่วมงาน: รูปแบบการทำงานของทีมทั่วไปมักจะเน้นการทำงานเป็นแบบลำดับชั้น มีซีเนียร์ จูเนียร์ หรือ อินเทิร์น ซึ่งนั่นมันก็ดีอยู่หรอก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม และหลายคนโดยเฉพาะคนที่ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า อาจจะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เท่าไรนัก ดังนั้นสำหรับ Agile แล้ว เพื่อให้งานออกมาสำเร็จลุล่วง คนในทีมจึงมีความสำคัญมาก เพราะในท้ายที่สุดทุกคนมีจุดประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน ดังนั้นการที่สมาชิกในทีมระดมความคิดโดยไม่มีการแบ่งลำดับว่าใครความรู้มากกว่าใครจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเสนอไอเดีย และแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
  • เมื่อเคารพคนอื่นแล้ว ก็อย่าลืมที่จะสนับสนุนไอเดียที่แตกต่าง: อย่างที่ทราบกันดีว่า การให้ความสำคัญต่อคนในทีมส่งผลให้ Agile มีประสิทธิภาพมากที่สุด การเปิดกว้างทางความคิดทำให้สมาชิกในทีมมีอิสระเสรีในการเสนอความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการได้ไอเดียและความคิดเห็นจากทีมงานที่หลากหลายมุมมองจากทั่วทั้งองค์กรจะทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่าลืมนะว่ามนุษย์ทุกคนมองโลกในมุมมองที่ต่างกันอยู่แล้ว จึงไม่แปลกหากการนำมุมมอง หรือความคิดที่หลากหลายเหล่านี้มารวมกันย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่จงรู้ไว้ว่า ความขัดแย้งแบบนี้แหละจะสามารถส่งผลที่ดีต่อทั้งทีมและองค์กรได้เช่นกัน
  • Workflow ที่เหมาะสม: การลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคํญพอตัว มันช่วยเราแก้ปัญหาจุกจิกกวนใจด้วยการถามว่า “จำเป็นจริงๆ ไหมที่จะต้องคุยรายละเอียดตอนนี้ หรือสถานการณ์จะเปลี่ยนไปเมื่อเรามาถึงจุดนี้?” ดังนั้นการมี Agile mindset นี้จะช่วยสร้างทำให้พบว่าอะไรที่สำคัญ และอะไรที่เราไม่ควรเสียเวลาไปด้วย

    Agile ที่เหมาะสมจะช่วยเราหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรให้เหลือน้อยที่สุด (เช่น การเงินหรือบุคลากร) และเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และประสิทธิภาพของทีม
  • Reflect และ ปรับปรุง: แม้ว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการแล้ว ทุกคนในทีมก็ยังต้องไตร่ตรองถึงกระบวนการที่ผ่านไปแล้วว่ามีอะไรบ้างที่ได้ติดขัด หรือเป็นปัญหา ดังนั้นวิธีที่ควรทำควรจะมีการประชุมและระดมความคิดของสมาชิกทุกคนเพื่อที่จะได้พยายามหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องให้สิ่งที่ได้ผลแล้วดียิ่งขึ้นไปอีก

ข้อดีของ Agile คือวัฒนธรรมที่ใครก็สามารถนำไปใช้กับทุกแง่มุมของการทำงานได้ มากไปกว่านั้น ไม่ใช่แค่โลกอุตสาหกรรม การทำงานในองค์กรเท่านั้น แต่ Agile ก็สามารถนำมาปรับใช้ในสเกลเล็กๆ อย่างชีวิตประจำวันได้เช่นกัน เพราะการฝึกใช้วิธีคิดแบบมีกระบวนการเป็นประจำอย่าง Agile ในทางที่ถูกต้อง จะช่วยให้เราสร้าง mindset ที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างแน่นอน

อ้างอิง:

Chow, C. (2021, November 11). Introduction to Agile: The 4 Fundamental Values | Cybiant. Cybiant. https://www.cybiant.com/resources/introduction-to-agile-the-4-fundamental-values/ 

Drozd, B. K. (n.d.). Cultivating an agile mindset | Atlassian. Atlassian. https://www.atlassian.com/agile/advantage/agile-mindset
Pratt, M. K. (2023). Why IT projects still fail. CIO. https://www.cio.com/article/230427/why-it-projects-still-fail.html

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า

4 วิธีสร้าง productivity ด้วยตัวเอง ส่งตรงจากมือถือ

Highlights: โดยปกติแล้วคนเรามักจะเริ่มหยิบเอาสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาในยามที่ไม่รู้จะทำอะไร หรือบางทีการเล่นโทรศัพท์มือถืออาจจะเกิดขึ้นจากการที่เรากำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข่าวสารที่ตึงเครียด หรืออยากหนีจากความวุ่นวายรอบๆตัว และด้วยสาเหตุพวกนี้แหละ มันมักจะเริ่มต้นด้วยการที่เราเลื่อนโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกทีมันก็กินเวลาไปมากแล้ว การไถหน้าจอไปเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการที่เราไม่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงในการใช้มือถือ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เวลาของเราซะเลย ด้วยสาเหตุพวกนี้แหละส่งผลให้การเลื่อนดูสมาร์ทโฟนไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมายมักจะเกิดขึ้นกับพวกเราในยุคนี้ได้อย่างง่ายดาย แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ใครว่าเราไม่สามารถสร้าง productivity จากสมาร์ทโฟนของพวกเราเองได้? จริงๆแล้ว สมาร์ทโฟนที่เราใช้กันอยู่ทุกวันมันมีประโชน์มากกว่าที่เราคิดซะอีก เพราะในโทรศัพท์ของเรายังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย และสามารถสร้าง productivity

อัปสกิลที่มีอยู่ สู่งานใหม่ที่ดีกว่า ด้วย Transferable Skills

Highlights: ปัจจุบันการทำงานให้ตรงสายกับที่เรียนมานั้นเป็นอะไรที่ค่อนข้างที่จะท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะบางสายงาน เช่น งาน Adminstrative ทั่วไป หรือสาย Creative นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนรักและถนัด แต่ด้วยฐานความต้องการของสายอาชีพพวกนี้อาจจะไม่ได้มีความต้องการในตลาดมากเท่ากับพวกสายอาชีพเฉพาะ อย่างวิศวกร หรือเทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้ผู้ที่อยากเปลี่ยนงาน หางานยากขึ้น ยิ่งบางอาชีพนั้นเงินค่าจ้างที่ได้ก็คงไม่ได้มากมายเท่าไร.. การล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องของโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ผ่านมาได้ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศได้ไตร่ตรองเส้นทางอาชีพของตน มองหาความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและอาชีพมากขึ้น คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครหลายคนในตอนนี้กำลังหาลู่ทางที่จะเปลี่ยนเส้นทางอาชีพของตัวเอง เพราะฉะนั้นการโยกย้ายเปลี่ยนงานจึงอาจจะเป็นสิ่งที่หลายๆ