พัฒนาตัวเองด้วยหนังสือ Upskill: 21 keys to professional growth (ตอนที่ 1)

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • Upskill คือเทรนด์สำหรับผู้คนในยุคนี้และอนาคต ที่อยากจะพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะยกระดับความสามารถที่มีให้ดีกว่าเดิม
  • ดังนั้นการอ้างอิงจากหนังสือที่น่าสนใจอย่างเล่ม “21 วิธี Upskill สู่การพัฒนาตนเอง” โดย คริส วัตสัน (21 keys to professional growth by Chris Watson) จึงเป็นอะไรที่น่าจะช่วยให้ผู้อ่านได้นำข้อที่สำคัญไปปรับใช้กับตนเองได้

เมื่อโลกแห่งการทำงานเปลี่ยนไป วิธีการทำงานของเราก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการหาโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะให้กับตัวเองจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าสกิลของเรานั้นจะไม่เปล่าประโยชน์ ทุกวันนี้การอัปสกิลคือสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้คนที่ต้องการจะยกระดับความสามารถที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิม ทำให้บางครั้งการสร้างแรงบันดาลใจ และการรู้ถึงเป้าหมายของตัวเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเริ่มพัฒนาตัวเอง

หลายคนอาจจะมองว่าการอ่านหนังสือ การดูยูทูบ การฟังพอดแคสต์ที่เกี่ยวกับ Self development มักเต็มไปด้วยคำพูดสวยหรู อาจจะทำตามได้ยาก แต่.. คงจะไม่ใช่กับหนังสือที่มีชื่อว่า “Upskill: 21 keys to professional growth” ของ คริส วัตสัน (Chris Watson) อย่างแน่นอน

หากสรุปแบบพอสังเขป คริส วัตสัน ผู้เขียน ได้ทำ online survey ให้กับหลายองค์กรที่เข้าร่วม โดยเน้นถามพวกเขาว่า ทักษะไหนของพนักงานที่สร้างความแตกต่าง และทักษะที่ดูเหมือนจะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จโดยไม่เกี่ยวว่าพนักงานคนนั้นจะอยู่ที่ใด ตำแหน่งไหนในองค์กร

ซึ่งแต่ละคำตอบที่คริสได้มานั้น ส่งผลให้เขาค้นพบ 21 สกิลที่จะช่วยเป็นแนวทางให้มีการพัฒนาการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพของผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ และในบทความนี้ Mydemy ได้สรุปใจความของแต่ละสกิลด้วยกันและจะแบ่งทั้งหมดเป็น 2 พาร์ท โดยพาร์ทแรกนั้นมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง? ลองมาดูกัน

  1. Ability to influence (ความสามารถในการมีอิทธิพล) หมายถึง การชักชวน สร้างแรงบันดาลใจ จูงใจ และโน้มน้าวผู้อื่นให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยบุคคลที่มีทักษะนี้มักจะเก่งในการเสนอไอเดีย และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีที่น่าเชื่อถือ โดยวิธีที่สำคัญมีมากมาย เช่น Storytelling ที่จะสามารถเป็นใจหลักในการดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจประเด็นที่เรากำลังต้องการพูดถึงอย่างดีทีเดียว เพราะใครล่ะจะอยากฟังเรื่องเล่าที่น่าเบื่อ จริงไหม?
  2. Commercial Thinking (ความคิดเชิงพาณิชย์) ความรู้ในธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่ เพราะการมีความเข้าใจทางด้านนี้จะช่วยให้เราสามารถหาทางไปสู่หนทางที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในอนาคต โดยสกิลนี้น่าจะเหมาะกับสาย Marketing หรือ Business Analyst อย่างมาก
  3. Commitment to Change and Adaption (ความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงและปรับตัว) คือ การก้าวออกจากคอมฟอร์ทโซนของตัวเองเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ดังนั้นการที่เรายอมรับการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เราสามารถหาวิธีแก้ปัญหา อีกทั้งอาจจะยังพบความสามารถใหม่ๆ ที่เรายังไม่พบอีกด้วย
  4. Constructive Communication (การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์) การพูดอย่างสร้างสรรค์และสามารถที่จะดึงดูดผู้คนได้นั้นถือเป็นคุณสมบัติที่จะทำให้เราสื่อสารได้ดีอย่างมาก ดังนั้น “แม่นยำ กระชับ ชัดเจน และเรียบง่าย” คือคีย์สำคัญเลยล่ะ
  5. Creativity and Innovation (ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม) ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะก้าวข้ามผ่านแนวคิดเดิมๆ และสามารถสร้างไอเดียใหม่ๆได้เสมอ โดยสกิลนี้จะช่วยให้องค์กรสร้างแนวทางใหม่ๆเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
  6. Direction and Purpose (ทิศทางและวัตถุประสงค์) การรู้ทิศทางและเป้าหมายขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นการวางแผนที่ดีและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้ทั้งเราและบริษัทบรรลุงานตรงตามกำหนดที่วางไว้ได้อย่างสมูธเลยล่ะ
  7. Effective Planning and Organisation (การวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ) หากเรารู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลังจะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเราพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานตามเวลาและตรงตามเดดไลน์ที่กำหนดไว้ นักวางแผนที่มีประสิทธิภาพมักจะคอยคิดล่วงหน้า วางแผนและจัดระเบียบงานและชีวิตประจำวันได้อย่างสบาย
  8. Enthusiasm for Customer Service (ความกระตือรือร้นในการบริการ) ผู้ที่มีสกิลนี้มักจะเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่รักของลูกค้าและองกรค์ ดังนั้นการแสดงทัศนคติเชิงบวกและการเอาใจใส่ที่จะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าจะช่วยให้บริษัทมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้า แถมยังช่วยให้เกิด word-of-mouth อีกด้วย
  9. Focus on Developing Others (การสนใจที่จะพัฒนาผู้อื่น) การที่เราจะมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองนั้นสำคัญก็จริง แต่หากถึงเวลาที่ต้องทำงานเป็นทีม การช่วยให้ผู้อื่นพัฒนาตัวเองได้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากต่อภายในองกรค์ เปรียบดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า “สองหัวดีกว่าหัวเดียว” อย่างไรล่ะ
  10. Interpersonal Awareness and Diplomacy (การเข้าใจในมนุษสัมพันธ์และการเจรจา) คือการเป็นกลาง และการเรียนรู้ความรู้สึกของคนรอบข้าง ทักษะนี้จะช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น เพราะการทำงานในองกรค์อาจจะมีบ้างที่เราไม่เห็นด้วยกับคนอื่น หรือเพื่อนร่วมงานทำบางอย่างผิดพลาดไป สิ่งที่เราควรทำนั้น คือการชื่นชมต่อหน้าคนอื่นในสิ่งที่เขาทำได้ดี แต่ควรจะตักเตือน หรือแนะนำเขาเป็นการส่วนตัวในเรื่องที่เขาควรแก้ไข วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้ว่า เราเข้าใจและหวังดีต่อเขาจริง เพราะฉะนั้นนี่จึงเป็นวิธีการสร้างความสัมพันธ์ในทีมที่ดีอย่างมาก
  11. Intuitive Thought (การใช้สัญชาตญาน) ความสามารถในการเข้าใจบางสิ่งโดยใช้การสัญชาตญาณที่มีอยู่ที่จะส่งผลให้เราสามารถตัดสินใจ หรือลงมือทำอะไรได้อย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องคิดหัวหมุนให้เสียเวลา สกิลนี้เราสามารถพัฒนาได้จากประสบการณ์ หรือหน้าที่อะไรก็ตามที่เลยอาจจะทำบ่อยๆ จนเคยชินอยู่แล้ว

และนี่คือ 11 สกิลแรก จากหนังสือ Upskill: 21 keys to professional growth ที่ Mydemy ได้รวบรวมและสรุปเทคนิคดีๆ มาให้ทุกคนได้อ่าน หากใครไม่มีเวลาหาอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็อย่าพลาดพาร์ท 2 หากยังอยากรู้วิธีอัปสกิลที่เหลือนะ รอติดตามกันได้เลย!

อ้างอิง:

Jones, A. (2019, February 24). Episode 154 – Upskilling with Chris Watson. The Extraordinary Business Book Club.
http://extraordinarybusinessbooks.com/episode-154-upskilling-with-chris-watson/ 

Watson, C. (2018, October 5). Upskill 21 keys to professional growth. Perlego. https://www.perlego.com/book/822735/upskill-21-keys-to-professional-growth-pdf 

Fauxpology: ขอโทษทำไม ถ้าไม่ได้อยาก ‘ขอโทษ’?

Highlights: “ขอโทษ” หรือ “ขอโทษแล้วกัน ถ้าไปทำให้ไม่สบายใจ” เวลาที่มีเรื่องผิดพลาด สิ่งแรกที่เราทำก็คือการกล่าวคำเหล่านี้ออกมา คำพูดพวกนี้คงเป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ อาจเป็นคำขอโทษที่ลวงโลกที่พบบ่อยที่สุด แต่ถ้าหากพูดขอโทษซ้ำซาก หรือพูดแบบไม่เต็มใจ ก็อาจจะฟังดูทะแม่งๆ นะว่ามั้ย? อาจจะจริงที่การขอโทษสามารถเรียกความไว้วางใจกลับมา หรือทำให้ความผิดพลาดมันทุเลาลงได้ แต่เมื่อมีการขอโทษปลอมๆ มันก็สามารถทำให้เรื่องราวมันแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรามักจะรู้เมื่อมีคนไม่จริงใจ เราสามารถอ่านได้จากภาษากาย

ใช้ Design Thinking ในชีวิตประจำวัน… ยังไงนะ?

Highlights: Design Thinking คืออะไร? Design Thinking คือ การคิดเชิงออกแบบเป็นเทคนิคการแก้ปัญหาที่ผสมผสานตรรกะ สัญชาตญาณ และการใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เราก็สามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขได้เป็นอย่างดี แก้ได้ถูกจุด และเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่อาจจะไม่เคยเจอมาก่อน ผ่าน 5

5 อาชีพไหน ที่ A.I. จะยังมาแทนที่มนุษย์ไม่ได้!

อย่างที่ทราบกันดีในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และ A.I. ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะและบทบาทของงานแทบจะทุกสายงาน ระบบ A.I. สามารถประมวลผลข้อมูลนับล้านภายในไม่กี่วินาที กลับกันถ้าเป็นมนุษย์ ก็คงใช้เวลานานกว่ามาก  ระบบอัตโนมัติและ A.I. กำลังกระตุ้นการปฏิวัติครั้งใหม่ตั้งแต่ไอทีไปจนถึงการผลิต ทำให้ความต้องการในตลาดแรงงานนั้นลดน้อยลงในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นเทรนด์นี้ก็น่าจะทำให้ผู้คนกังวลเรื่องความมั่นคงในงานไม่มากก็น้อย แม้ว่าสกิลด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีจะเป็นสกิลที่มีความต้องการสูงมากในอนาคตอันใกล้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะอาชีพที่ยังต้องการมนุษย์นั้นจะลดน้อยลง สาเหตุหลักๆ ก็เพราะว่า