รู้จัก ‘Penguin Effect’ จากคนธรรมดาพัฒนาเป็นเพนกวินผู้กล้า!

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • Penguin Effect เป็นคำที่ถูกคิดค้นจากจิตวิทยาฝูงชน (Crowd Psychology) ที่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าพฤติกรรมของฝูงนกเพนกวินที่ชอบรอให้ ‘เพนกวินตัวแรก’ เริ่มทำอะไรบางอย่างก่อนที่ตัวอื่นจะเข้าร่วมด้วย เปรียบได้กับมนุษย์ทั่วไปที่เวลารวมกันในหมู่มาก เรามักรอให้บุคคลหนึ่งเริ่มทำอะไรสักอย่างเพื่อที่เราจะได้ทำตาม
  • การทำความเข้าใจทฤษฎี Penguin Effect จะทำให้เรากล้าที่จะเริ่มเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ มากขึ้น แม้ว่าจะมีผู้อื่นรอดูผลลัพธ์อยู่ก็ตาม

ที่มาที่ไปของ Penguin Effect
เพนกวินเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีพฤติกรรมน่าสนใจ และทำให้เราขมวดคิ้วอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า ‘Penguin Effect’ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของมนุษย์ได้อย่างเหลือเชื่อ!

นกเพนกวินแม้ในขณะที่หิวโหยยังสามารถยืนท้าลมหนาวเป็นเวลานานบนชายฝั่ง หรือแผ่นน้ำแข็งร่วมกับฝูง พร้อมทั้งคอยพยายามผลักและดันตัวที่อยู่ข้างหน้าลงไปในน้ำ ซึ่งสาเหตุมาจากที่พวกมันไม่กล้ารีบเข้าไปเอง เพราะกลัวนักล่าอย่าง แมวน้ำ, สิงโตทะเล ,วาฬเพชฌฆาต หรือ แม้แต่ฉลาม ที่มักจะลาดตระเวนบริเวณน้ำตื้นใกล้กับบริเวณที่ฝูงนกเพนกวินอยู่ โดยสถานการณ์เช่นนี้เพนกวินตัวแรกที่ลงน้ำก่อนจะเสี่ยงต่อการถูกกินมากที่สุด แม้อาจจะถูกขนานนามว่าเป็นฮีโร่ แต่ก็ไม่มีใครอยากเป็นอาหารค่ำอันแสนโอชะสำหรับนักล่าอย่างแน่นอน

เมื่อเพนกวินตัวแรกถูกดันจนตกลงไปในคลื่นน้ำแข็ง กลุ่มที่เหลือก็จะเฝ้าดูสถานการณ์ว่ามีนักล่าแถวนั้นรึเปล่า หากผู้กล้าที่ไม่สมัครใจของพวกเขาโผล่ขึ้นมาและว่ายน้ำไปรอบๆ โดยไม่ได้ถูกงาบไปไหน เจ้าพวกเพนกวินทั้งหมดก็จะพร้อมใจกันทำตามเพื่อกระโจนลงไป และปาร์ตี้อาหารก็เริ่มขึ้น

Penguin Effect และ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น


เราทุกคนต้องหา “นกเพนกวิน” ของเราให้เจอ เราต้องการหลักฐานว่าน่านน้ำนั้นปลอดภัยและเป็นมิตร – แม็กซิม วีทลีย์ (Maxim Wheatley) 

ก่อนอื่นเลยหากเราจะเปรียบเทียบพฤติกรรม Penguin Effect กับมนุษย์แล้ว นี่ถือว่าเป็นเอฟเฟกต์ที่อธิบาย และทำให้เห็นถึงทัศนคติและพฤติกรรมในการรอดูของกลุ่มคนว่าทิศทางของผู้กล้านั่นจะเป็นอย่างไร? 

เพื่อกลายมาเป็นนกเพนกวินตัวแรก ต้องเริ่มจากออกจาก Comfort Zone ของตัวเองเป็นอันดับแรก

ถ้าใครต้องการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ควรจะก้าวมาเป็นเพนกวินตัวนั้นซะเอง! และแม้ว่าเราจะไม่ได้ถูกเขมือบ แต่การเป็นคนเริ่มเสี่ยงทำอะไรเป็นคนแรกนั้น.. อุปสรรคที่คาดเดาไม่ได้ ก็คงจะไม่ต่างอะไรกับการที่นกเพนกวินต้องพบกับนักล่า

เมื่อเราตัดสินใจ “กระโดด” เป็นครั้งแรก เท่ากับว่าเราได้เริ่มก้าวแรกแล้ว และสิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือแม้แต่การกระทำง่ายๆ ก็ยังเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับเรา (อย่างไม่ต้องกังวลด้วยนะว่าตัวอะไรจะมากินเรา!)

คนเราส่วนใหญ่ใช้เวลาหลายปีในชีวิตไปกับการเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ เราต้องการประสบความสำเร็จ เราต้องการมีชีวิตที่มีความสุข มั่งคั่ง และมีสุขภาพดี แต่บ่อยครั้งที่สถานการณ์ที่เราจินตนาการไว้ในหัวนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าผลลัพธ์จริงใดๆ ส่งผลให้ความกลัวที่จะเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นตามมา ทำให้เราล้มเหลวที่เอาชนะความกลัวของเรา ซึ่งนั่นไม่ต่างอะไรกับเจ้าเพนกวินที่เหลือเลย  อย่างไรก็ตาม ยารักษาโรคแห่งความกลัวนี้ ก็คือ ‘การตัดสินใจเริ่มลงมือทำ’ ทันทีที่เรายอมเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ เราจะเริ่มลบล้างความเชื่อที่จำกัดนี้ออกไป

ไม่มีใครในโลกนี้รู้ได้ว่า ทุกๆ ความเสี่ยงที่เราทำจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ในเชิงบวก หรือความคุ้มค่าจะมีมากน้อยแค่ไหน? มากไปกว่านั้น.. ไม่ว่าจะคำนวณความเสี่ยงได้แค่ไหนก็ตาม การที่เรากล้าเสี่ยงแค่นี้ก็ทำให้เรามีโอกาสรู้ว่าเราเป็นใคร และขีดความสามารถทั้งหมดของเรามีอะไรบ้าง? และได้รับประสบการณ์อันล้ำค่าที่กล้าลงทุน ลงแรงกับการกระทำนี้อีกด้วย

สรุปก็คือ การท้าทายตัวเองและก้าวออกจาก Comfort Zone เราจะได้รับทักษะ ประสบการณ์ และความมั่นใจใหม่ๆ

หากวันนี้เรายังไม่แน่ใจว่าเราต้องการเป็นคนเริ่มเสี่ยงหรือไม่? ลองถามตัวเองดูว่าละกันว่า สิ่งที่กำลังทำในทุกวันนี้ ทำให้เราได้ใกล้เคียงคนที่เราต้องการจะเป็นในวันข้างหน้าแล้วรึยัง?

อ้างอิง:

SeeKen. (2017, November 9). 5 Benefits Of Taking Risks – Why Take Risks. SeeKen. https://seeken.org/benefits-of-taking-risks/ 

Studer, A. (2021, October 25) Why the First Penguin?  It’s About Taking Risks with Your Career. Linkedin. https://www.linkedin.com/pulse/why-first-penguin-its-taking-risks-your-career-gina-studer-ccmc/?trk=public_profile_article_view

Sridharan, M. (2023, July 14). Penguin Effect – How consultants facilitate action. Think Insights. https://thinkinsights.net/consulting/penguin-effect/

Wheatley, M. (2016, December 2). Business Development and “The Penguin Effect.”. Linkedin. https://www.linkedin.com/pulse/business-development-penguin-effect-maxim-wheatley/

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565

Slash Career – คุ้มไหมนะ ถ้าอยากมีมากกว่า 1 อาชีพ?

Highlights: มนุษย์เงินเดือนหลายคนพบว่า การทำงานประจำ หรือมีแค่อาชีพเดียวนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเกินไป ไม่ได้รู้สึกชอบ หรือรายรับอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงวิติ ถ้าอย่างนั้น.. จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเลือกทำ (อย่างน้อย) สองอาชีพในเวลาเดียวกัน หรือมันจะดีกว่ารึเปล่าที่จะมุ่งมั่นไปที่สิ่งเดียว? Slash career เป็นคำที่ใช้เรียกของอาชีพที่คนเลือกทำงานหลายอย่างในเวลากันเดียว  ซึ่งคนเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า Slashies บางคนอาจจะมีสองงาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราเป็น

เพราะอะไร? ทำไมถึงตัดสินใจลาออกจากงานกันง่ายขึ้น?

Highlight: เคยสังเกตกันไหมว่าผู้คนที่ทำงานในที่ใดที่หนึ่ง หรือสายงานใดสายงานหนึ่งเป็นระยะเวลานานมากๆ อย่างน้อยประมาณ 3-5 ปี เป็นอย่างต่ำ จะไม่ค่อยลาออกจากงานกันง่ายๆ หากเทียบกับยุคสมัยใหม่นี้ การลาออกจากงาน หรือย้ายสายงาน กลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาซะอย่างนั้น? ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนที่ผ่านมา McKinsey ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้คนในตลาดแรงงานมากกว่า 13,000 คนทั่วโลก พบว่ากว่า 40% ของคนกลุ่มนี้