รู้จักกับ ‘Structured Problem Solving Skills’ สูตรการทำงานสุด Cliché แต่แก้ได้แทบจะทุกสถานการณ์

Share on facebook
Share on twitter

Highlight:

  • ปัญหาที่มนุษย์อย่างเราประสบพบเจอนั้นไม่ได้อยู่ที่ขนาดความร้ายแรงของปัญหาที่ทำให้เราผิดหวัง หากแต่ว่ามันขึ้นอยู่ที่วิธีการที่เราจะจัดการกับมันต่างหาก
  • Structured problem solving หรือ การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง โดยหลักการของวิธีนี้เป็นทักษะที่เรียนรู้ที่ช่วยให้เราคิดแบบย้อนหลัง เพื่อช่วยให้เราค่อยๆ เห็นภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถที่จะประเมินปัญหาอย่างมีแบบแผนและชัดเจนมากที่สุด

บ่อยครั้งที่เวลาเราพบเจออุปสรรค หรือความท้าทายอะไรบางอย่าง เรามักจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เราควรทำอย่างไรดีเพื่อที่จะก้าวผ่านปัญหาที่เจอนี้ได้อย่างง่ายดาย?”  และนี่แหละคือจุดเริ่มต้นของวิธีการแก้ไขปัญหาที่เราพยายามจะหาคำตอบหรือทางออกของอุปสรรคเหล่านั้น และการที่เราจะหาทางออกของเรื่องราวที่เราเผชิญอยู่ได้

ปัญหาที่มนุษย์อย่างเราประสบพบเจอนั้นไม่ได้อยู่ที่ขนาดความร้ายแรงของปัญหาซะทีเดียว หากแต่ว่ามันขึ้นอยู่ที่วิธีการที่เราจะจัดการกับมันต่างหาก

เราควรจะรู้จักหาวิธีการลงมือจัดการกับมันก่อนที่เราจะเริ่มแก้ปัญหา 

การแก้ปัญหาได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์ผ่านกระบวนการรับรู้ปัญหาและความท้าทายในขั้นแรก ซึ่งส่งผลให้เราค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะช่วยให้เราประเมินสิ่งที่เหมาะสมในลำดับสุดท้าย

มากไปกว่านั้น ความสำคัญของการแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้างเป็นสิ่งที่ผู้ที่กำลังหางานหลายคนต้องมีติดตัว เพราะในหลายครั้งที่เราต้องอยู่ในขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เรามักจะถูกตั้งคำถามจากผู้สัมภาษณ์ว่า หากเราพบเจอสถานการณ์ x เราจะแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิธีไหน และอย่างไร?” ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าในองค์กรก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย

จะว่าไปแล้ว สกิลนี้มันน่าสนใจตรงที่เมื่อมีความซับซ้อนเกิดขึ้นระหว่างทางการค้นหาคำตอบ เราเองก็จะต้องโฟกัสและให้ความสำคัญกับการกำหนดปัญหาที่ดีด้วยวิธีการที่ทำให้เราเห็นภาพของโครงสร้างในการแก้ปัญหา (Structured problem solving) 

Structured Problem-Solving คืออะไร?

Structured problem solving หรือ การแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง โดยหลักของวิธีนี้เป็นทักษะที่เรียนรู้ที่ช่วยให้เราคิดแบบย้อนหลังกลับ เพื่อช่วยให้เราค่อยๆ เห็นภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถที่จะประเมินปัญหาอย่างมีแบบแผนและชัดเจนมากที่สุด

หากลองค้นหาในอินเทอร์เน็ต คงจะเจอวิธีการมากมายล้านแปด แต่ในบทความนี้ Mydemy ต้องการนำเสนอกะบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา ที่จะทำให้ผู้อ่านทุกคนเห็นภาพได้ดีที่สุด นั่นก็คือ

  1. การวิเคราะห์ทำความเข้าใจปัญหา: วิธีนี้คือการที่เราค่อยๆ คิดประมวลผลออกมาถึงภาพรวมของสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่คืออะไร เกิดจากอะไรและจากใคร? เราสามารถควบคุมมันได้ไหม? การเริ่มด้วยการทำความเข้าใจของสิ่งที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เรามองเห็นถึงต้นตอของปัญหาได้อย่างชัดเจน และง่ายดาย
  2. พยายามนึกถึงผลลัพธ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้: หลังจากที่เรามองเห็นสาเหตุของปัญหาได้แล้ว สเต็ปต่อไปคือการลิสต์วิธีแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลหากวิธีแก้ปัญหานั้นดี ไม่ดี หรือไม่ประสิทธิผล เพราะเราต้องการรู้ความเป็นไปได้ของทางออกของปัญหานี้ ดังนั้นยิ่งมีทางออกมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งจะเจอวิธีที่เหมาะสมที่สุดมากขึ้นจริงไหม?
  3. ถึงเวลาวางแผนเพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา: ขั้นตอนนี้เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ผลลัพธ์ของคุณทำงานอย่างชัดเจน หลังจากที่เราเข้าใจปัญหา และรู้ถึงความเป็นไปได้
  4. มาทบทวนและประเมินผลก่อนจะเริ่มลงมือ: การทบทวนความคืบหน้าของเราเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้การแก้ปัญหาที่มีโครงสร้างอย่างมืออาชีพ เมื่อเราสามารถมองเห็นปัญหา วิธีแก้ไข และแผนการลงมือได้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว การประเมินถึงสิ่งที่เราควรทำจะง่ายขึ้นมาก อีกทั้งยังถือว่าเป็นการสร้างความรอบคอบให้ตัวเองอีกด้วย ไม่แน่นะ เราอาจจะเจอข้อผิดพลาดในบางจุดก็เป็นได้

ดังนั้นนอกจากที่เราจะเจอทางออกของปัญหาที่เผชิญอยู่ เราก็จะสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดมากพอๆ กับความสำเร็จนี้ด้วยเหมือนกัน

เข้าใจแล้วหรือยัง? ว่าการเรียนรู้กระบวนการคิดถึงวิธีการแก้ไขปัญหาแบบมีชั้นเชิง หรือโครงสร้างจีงเป็นทักษะที่ไม่ควรถูกมองข้ามไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เพราะนี่ก็เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราหางาน หรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนะ!

อ้างอิง:

Repenning, N. P. (2017, March 13). The most underrated skill in management. MIT Sloan Management Review. https://sloanreview.mit.edu/article/the-most-underrated-skill-in-management/ 
Theodotou, M. (2023). ELearning Skills 2030: Structured Problem-Solving Methods. eLearning Industry. https://elearningindustry.com/elearning-skills-2030-structured-problem-solving

ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์: ประเทศไทยเริ่มแล้วหรือยัง?

Highlight: “หากคุณดูผลกระทบของการแพร่ระบาดต่อการทำงาน เรามักจะให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานมากเกินไป อันที่จริงการทำงานจากระยะไกลและแบบผสมผสานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถขจัดความเหนื่อยหน่ายและการทำงานหนักเกินไปได้”  – โจ โอคอนเนอร์ (Joe O’Connor)  กรรมการบริหารของ 4 Day Week Global เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565

Slash Career – คุ้มไหมนะ ถ้าอยากมีมากกว่า 1 อาชีพ?

Highlights: มนุษย์เงินเดือนหลายคนพบว่า การทำงานประจำ หรือมีแค่อาชีพเดียวนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายเกินไป ไม่ได้รู้สึกชอบ หรือรายรับอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงวิติ ถ้าอย่างนั้น.. จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะเลือกทำ (อย่างน้อย) สองอาชีพในเวลาเดียวกัน หรือมันจะดีกว่ารึเปล่าที่จะมุ่งมั่นไปที่สิ่งเดียว? Slash career เป็นคำที่ใช้เรียกของอาชีพที่คนเลือกทำงานหลายอย่างในเวลากันเดียว  ซึ่งคนเหล่านี้ก็ถูกเรียกว่า Slashies บางคนอาจจะมีสองงาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราเป็น

เพราะอะไร? ทำไมถึงตัดสินใจลาออกจากงานกันง่ายขึ้น?

Highlight: เคยสังเกตกันไหมว่าผู้คนที่ทำงานในที่ใดที่หนึ่ง หรือสายงานใดสายงานหนึ่งเป็นระยะเวลานานมากๆ อย่างน้อยประมาณ 3-5 ปี เป็นอย่างต่ำ จะไม่ค่อยลาออกจากงานกันง่ายๆ หากเทียบกับยุคสมัยใหม่นี้ การลาออกจากงาน หรือย้ายสายงาน กลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาซะอย่างนั้น? ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนที่ผ่านมา McKinsey ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้คนในตลาดแรงงานมากกว่า 13,000 คนทั่วโลก พบว่ากว่า 40% ของคนกลุ่มนี้